ทัวร์จอร์แดน 8 วัน 5 คืน พัก 5 ดาว ปี 2566 นอนโดมดูดาวในทะเลทรายวาดิรัม ล่องเรือยอร์ชทะเลแดง เที่ยวเจาะลึกครบทุกไฮไลท์ โดยผู้ชำนาญทัวร์จอร์แดนกว่า 14 ปี

ทัวร์จอร์แดน วีดีโอทัวร์จอร์แดน ,เที่ยวจอร์แดน

ทัวร์จอร์แดนแบบเจาะลึก เที่ยวจอร์แดน  แพคเกจทัวร์จอร์แดน TOUR JORDAN  

เพตรา ทะทรายเดดซี ทะเลทรายวาดิรัม ทะเลแดงทัวร์ต่างประเทศ : ทัวร์ประเทศจอร์แดน JORDAN

ภาพทัวร์จอร์แดน เที่ยวกับ ยูแทรเวลวาเคชั่นส์ วีดีโอทัวร์จอร์แดน โดย ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์ ผู้บุกเบิกเส้นทางทัวร์จอร์แดน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) เรามีความชำนาญเส้นทางทัวร์จอร์แดน และมีสำนักงานประจำประเทศซีเรีย ตั้งอยู่ที่   Al-Bahssa  P O Box 14045, Damascus. Syria เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการท่องเที่ยวจอร์แดน และประเทศในแถบตะวันออกกลาง รู้ลึกรู้จริงในการทำทัวร์จอร์แดน และประเทศในตะวันออกกลาง(อาหรับ) บริการ จัดทัวร์จอร์แดน แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยให้ได้สัมผัสถึงอารยธรรมโบราณซึ่งมีประวัติศาสตร์อันน่าสนใจของประเทศจอร์แดน  ทุกรายการทัวร์จอร์แดนของเราจะนำท่านเข้าพักโรงแรมระดับ 5 ดาว ริมทะเลสาบเดดซี สนุกกับการลอยตัวในทะเลเดดซี ท่านจะได้พอกโคลนเพื่อบำรุงผิวพรรณให้สดใส นุ่มนวล และทึ่งกับการสร้างเมืองเพตรา จากการสลักภูเขา ซึ่งเป้นเมืองคาราวานของชาวนาบาเทียน (Nabataean) ชนชาติอาหรับที่อาศัยอยู่ในบริเวณนาบาทีน (Nabatene) พื้นที่รอยต่อระหว่างซีเรียกับอะราเบีย) แห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ระหว่างทะเลแดงและทะเลเดดซี (Dead Sea) และเป็นจุดผ่านที่สำคัญระหว่างอะราเบีย อียิปต์ และซีเรีย-ฟีนิเชีย เพตราเป็นเมืองที่เกิดจากการก่อสร้างผสมกับการแกะสลักเข้าไปในหินธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยภูเขาอันเต็มไปด้วยช่องเขาและหุบผา นับเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกแหล่งหนึ่ง ซึ่งวัฒนธรรมตะวันออกได้ผสมผสานเข้ากับสถาปัตยกรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic)

 

ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์  ให้บริการจัดทัวร์จอร์แดนเต็มรูปแบบ ทำแลนด์จอร์แดน ระดับ 5 ดาว  แพคเกจทัวร์จอร์แดน แก่ท่าน ไม่ว่าจะเป็น ทัวร์จอร์แดนแบบส่วนตัวตั้งแต่ 1 ท่าน หรือทัวร์จอร์แดนเ ดินทางเป็นคณะทัวร์จอร์แดน ท่องเที่ยวประเทศจอร์แดน ข้อมูลท่องเที่ยวจอร์แดน จัดงานประชุมสัมนาในประเทศจอร์แดน ดูงานทางด้านอุตสาหกรรมในจอร์แดน รวมทั้งงานแสดงสินค้าในประเทศจอร์แดน ให้บริการทางด้านตั๋วเครื่องบินสู่ประเทศจอร์แดน จัดหาโรงแรมที่พักในจอร์แดน บริการรถทัวร์จอร์แดน ไกด์ทัวร์จอร์แดน ผู้ชำนาญทัวร์จอร์แดน และ รถรับส่งในประเทศจอร์แดน พร้อมทั้งบริการด้านวีซ่าจอร์แดนแก่ท่าน ให้ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์ เป็นผู้บริการทัวร์จอร์แดนเพื่อความประทับใจแก่ท่าน  

 
คลิปวิดีโอเที่ยวจอร์แดน

คลิปวิดีโอเที่ยวจอร์แดน 
 
คลิปวิดีโอเที่ยวจอร์แดน

คลิปวิดีโอเที่ยวจอร์แดน
 


คลิปวิดีโอเที่ยวจอร์แดน

 คลิปวิดีโอเที่ยวจอร์แดน

คลิปวิดีโอเที่ยวจอร์แดน

คลิปวิดีโอเที่ยวจอร์แดน
 

คลิปวิดีโอเที่ยวจอร์แดน

คลิปวิดีโอเที่ยวจอร์แดน 
   

ดูรายการทัวร์จอร์แดน 

 

ข้อมูลทัวร์จอร์แดน เที่ยวจอร์แดนแบบเจาะลึก  แพคเกจทัวร์จอร์แดน ข้อมูลเที่ยวจอร์แดน
ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan) (อาหรับ: أردنّ, ʼUrdunn) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก

จอร์แดนมีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกอบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบียและอียิปต์
 
ข้อมูลทั่วไป 

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดกับซีเรีย ทิศตะวันออกติดซาอุดีอาระเบีย ทิศตะวันตกติดกับอิสราเอล ทิศใต้ติดกับทะเลแดง

พื้นที่ 92,300 ตารางกิโลเมตร (ไทยมีขนาดใหญ่กว่า 5.7 เท่า)

เมืองหลวง กรุงอัมมาน (Amman)

เมืองสำคัญ เมืองซาร์กา (Zarka) เมืองอีร์บิด (Irbid) และเมืองท่าอะกาบา (Aqaba)

ภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณฝนตกน้อย กลางวันมีแดดจัดและอากาศเย็นในเวลากลางคืน อุณหภูมิฤดูร้อนเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส และอุณภูมิฤดูหนาวเฉลี่ย 8 องศาเซลเซียส

ประชากร 6.2 ล้านคน (2551) ครึ่งหนึ่งเป็นชาวปาเลสไตน์

เชื้อชาติ อาหรับ (98%) เซอร์คัสเซียน (1%) และอาร์มาเนียน (1%)

ภาษา อาหรับ (ใช้ภาษาอังกฤษอย่างกว้างขวาง)

ศาสนา อิสลาม (สุหนี่) 92% คริสต์ 6% อิสลาม (ชีอะต์) และอื่นๆ 2%

วันประกาศเอกราช 25 พฤษภาคม

วันสถานปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จอร์แดน 10 พฤศจิกายน 2509

เวลา ช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง

การเมืองการปกครอง 

ประมุขของประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่สอง อิบน์ อัล-ฮุสเซน (H.M. King Abdullah II Ibn Al-Hussein )

นายกรัฐมนตรี H.E. Mr. Samir Rafai (ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม อีกตำแหน่ง)


รัฐมนตรีต่างประเทศ H.E. Mr. Nasser Judeh

การเมืองการปกครอง 
1.1 จอร์แดนเคยอยู่ภายใต้อาณานิคมของสหราชอาณาจักรระหว่างปี 2464-2489 หลังจากได้รับเอกราช ได้เปลี่ยนชื่อจาก Emirate of Transjordan เป็นราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan) ปกครองโดยราชวงศ์ฮัชไมต์ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ อิบน์ อัลฮุสเซนที่ 2 พระประมุขของจอร์แดนพระองค์ปัจจุบันเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซน (พระราชบิดา) ซึ่งเสด็จสวรรคต โดยทรงกระทำสัตย์สาบานต่อรัฐสภาจอร์แดนเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 จอร์แดนได้ฉลองวโรกาสที่สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 ทรงครองราชสมบัติเป็นปีที่ 10
1.2 จอร์แดนปกครองระบอบราชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยใช้รัฐธรรมนูญปี 2495 เป็นบรรทัดฐาน มีนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้ารัฐบาล จอร์แดนมี 2 สภา ได้แก่ วุฒิสภา (Majlis al-Ayan) จำนวน 40 คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ มีวาระ 4 ปี และสภาผู้แทนราษฎร (Majlis al-Nuwaab) ที่มาจากการเลือกตั้งระบบสัดส่วน วาระ 4 ปี จำนวน 110 คน การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 ผู้สมัครอิสระได้ 98 ที่นั่ง พรรค Islamic Action Front ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มมุสลิมอนุรักษ์นิยมได้ 6 ที่นั่ง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงที่มาจากการจัดสรรโควตาพิเศษอีก 6 ที่นั่ง อย่างไรก็ดี สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงประกาศยุบสภาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 และต่อมานายนาเดอร์ ดาฮาบี นายกรัฐมนตรีประกาศลาออกจากตำแหน่ง สมเด็จพระราชาธิบดีฯ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนาย Samir Rafai (นายซาเมียร์ ราฟาอี) เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2552 ซึ่งได้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีจำนวน 28 คน
1.3 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ อิบน์ อัลฮุสเซนที่ 2 นอกจากดำรงตำแหน่งพระประมุขของจอร์แดนแล้ว ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพจอร์แดนที่มีกำลังพลจำนวน 100,500 คนด้วย ทำให้ในทางปฏิบัติ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 ทรงเป็นผู้มีอำนาจและบทบาทสูงสุดทางการเมือง 
1.4 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 ทรงมุ่งมั่นที่จะทำให้จอร์แดนมีระบบการปกครองที่มั่นคงและมีสังคมการเมืองแบบพหุนิยม ทรงปฏิรูประบบการบริหารประเทศโดยยึดความโปร่งใส และ ความรับผิดชอบต่อสังคม ทรงมีบทบาทในการออกกฎหมายเพื่อประกันสิทธิสตรี และให้สตรีมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของจอร์แดน และทรงเน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจของจอร์แดนให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของประชาชน พระองค์สนพระทัยในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการศึกษาให้ทันสมัย

เศรษฐกิจการค้าของจอร์แดน 

อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.4 (2551)
รายได้ประชาชาติ 20.1 พันล้าน USD (2551)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 3,256.7 USD (2551)

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ฟอสเฟต โปแตซ

สินค้าออกที่สำคัญเสื้อผ้า เวชภัณฑ์ โปแตซ ฟอสเฟต

สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ เครื่องจักร อาหาร อุปกรณ์ขนส่ง

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ 
ส่งออก สหรัฐอเมริกา อิรัก อินเดีย ซาอุดีอารเบีย 
นำเข้า ซาอุดีอาระเบีย จีน เยอรมนี สหรัฐอเมริกา

สกุลเงิน จอร์แดนดีนาร์ (Jordanian dinar: JOD)

อัตราแลกเปลี่ยน 1จอร์แดนดินาร์ เท่ากับ 1.4 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1 จอร์แดนดินาร์ เท่ากับประมาณ 45 บาท (2551)

อุตสาหกรรมสำคัญ อุตสาหกรรม เสื้อผ้า เหมืองแร่ ฟอสเฟต ปุ๋ยเคมี เวชภัณฑ์ การกลั่นน้ำมัน ซีเมนต์ โปแตซ เคมีภัณฑ์ และ การท่องเที่ยว

มูลค่าการค้ารวมกับไทย 282.95 ล้าน USD (2551) เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.92 จากปี 2550 ไทยส่งออก 255.96 ล้าน USD (รถยนต์ ส่วนประกอบ ตู้แช่แข็ง อาหารทะเลแปรรูป น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ไม้และยาง) นำเข้า 27 ล้าน USD (ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะ เครื่องจักรกลและไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป)

ด้านเศรษฐกิจของจอร์แดน

1.1 จอร์แดนเป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ 2 ใน 3 เป็นทะเลทรายไม่มีแหล่งน้ำจืดและน้ำมัน รายได้หลักร้อยละ 85 ของจอร์แดนอันดับหนึ่งจึงมาจากภาคบริการในสาขาต่างๆ อาทิ การธนาคารและการประกันภัย คมนาคม การท่องเที่ยว จากภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 11 และจากภาคเกษตรกรรมเพียงร้อยละ 4 จอร์แดนได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาผ่านสำนักงาน USAID เป็นจำนวนเงินกว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประชากรจอร์แดนร้อยละ 15 ยังคงอยู่ต่ำว่าเส้นความยากจน (poverty line) อย่างไรก็ดี รัฐบาลจอร์แดนไม่เก็บภาษีผู้มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 จอร์แดนดีนาร์ต่อปี สำหรับผู้มีรายได้เกินกว่านั้นต้องเสียภาษีร้อยละ 25-30 ตามระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้แบบก้าวหน้า (progressive) มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ 16 และจอร์แดนมีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 6 
1.2 จอร์แดนให้ความสำคัญกับการศึกษา มีอัตราการรู้หนังสือถึงร้อยละ 91 ส่งผลให้จอร์แดนส่งออกบุคลากรแพทย์ วิศวกร หรือในสาขาที่ต้องการความเชี่ยวชาญจำนวนมากไปต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศริมอ่าว เช่น ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์ ส่งรายได้กลับเข้ามาในจอร์แดนถึงปีละ 2-3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ชาวจอร์แดนในประเทศไม่นิยมทำงานที่ต้องใช้แรงงาน เช่น การเก็บขยะ การก่อสร้าง จึงก่อให้เกิดการจ้างแรงงานต่างชาติในจอร์แดนจากประเทศอียิปต์ ซีเรีย ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น 
1.3 จอร์แดนนำเข้าพลังงานร้อยละ 96 ของการใช้พลังงานภายในประเทศ โดยจอร์แดนนำเข้ากระแสไฟฟ้าบางส่วนจากอียิปต์ แต่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ผลิตจากน้ำมันที่นำเข้าและมีพลังงานทดแทนคือการผลิตไฟฟ้าจากกำลังลม ปัจจุบันมีการประมูลอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากกำลังลมเพื่อติดตั้งระบบกังหันลมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกำลังพิจารณาทางเลือก 2 แนวทางเพื่อลดการนำเข้าน้ำมันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แก่ การตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (จอร์แดนมีแหล่งแร่ยูเรเนียมในภาคกลางประมาณ 130,000 ตัน สามารถขุดพบได้ที่ระดับความลึก 1.5 เมตร และมีคุณภาพเหมาะสม น่าจะสามารถทดแทนการใช้พลังงานรวมได้ร้อยละ 30 ภายในปี 2568 และคาดว่าต่อไปจอร์แดนจะสามารถส่งออกยูเรเนียมได้) และการผลิตไฟฟ้าจากหินน้ำมัน (oil shale) ซึ่งสำรวจพบแล้ว 42 พันล้านตัน และสามารถกลั่นเป็นน้ำมันได้ 28 พันล้านบาร์เรล และบริษัท BP จะเริ่มสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซเพิ่มเติมบริเวณชายแดนจอร์แดน-อิรักในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552
1.4 แม้ว่าเศรษฐกิจของจอร์แดนจะได้รับผลกระทบจากการราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ลดลง แต่ก็มีการพัฒนาสำคัญในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจาก การปฏิรูปทางเศรษฐกิจหลังจากที่จอร์แดนประสบวิกฤตหนี้ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1980 จอร์แดนเปิดเสรีทางการค้าปฏิรูปด้านนโยบายการคลัง แปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatization) อาทิ ระบบสื่อสาร สายการบิน Royal Jordanian และอุตสาหกรรมฟอสเฟต มีการผ่านกฎหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และมีหน่วยงานอิสระทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง 
1.5 รัฐบาลจอร์แดนยกเลิกนโยบายที่ก่อให้เกิดการบิดเบือน (distortion) ทางเศรษฐกิจและปล่อยให้เศรษฐกิจเป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น อาทิ ยกเลิกการพยุงราคาน้ำมันที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้น และพยายามสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุนด้วยการผ่านกฎหมายทางเศรษฐกิจมากกว่า 200 ฉบับ พัฒนาสาธารณูปโภค และจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ Aqaba โดยใช้แรงจูงใจในการยกเว้นภาษี พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานให้เอื้ออำนวยต่อการค้าและการลงทุน ทั้งด้านการขนส่ง logistics การธนาคาร และการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการคมนาคม การค้า และการบริการในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะการเป็นประตูการค้าการลงทุนสู่อิรัก 
1.6 ปัญหาที่ยังคงท้าทายสำหรับรัฐบาลจอร์แดน ได้แก่ ความยากจน อัตราการว่างงานที่สูงถึงร้อยละ 12-15 และการอพยพของชาวอิรักที่ปัจจุบันอาศัยในจอร์แดน จำนวนไม่ต่ำกว่า 500,000 คน ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อทรัพยากรที่จำกัดของจอร์แดน 
1.7 จอร์แดนส่งออกเสื้อผ้า เวชภัณฑ์ โปแตซ และฟอสเฟต และนำเข้าน้ำมันดิบ วัตถุดิบสิ่งทอ ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิรัก อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย จีนและเยอรมนี จอร์แดนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเมื่อปี 2543 ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปและบังคับใช้ความตกลงการค้าเสรีที่ทำกับสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2544 และมีความตกลงการค้าเสรีกับสิงคโปร์ เมื่อปี 2547 เป็นความตกลงการค้าเสรีฉบับแรกที่มีระหว่างประเทศอาหรับกับประเทศในเอเชีย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน 

นโยบายต่างประเทศ

1. จอร์แดนอยู่ติดกับอิสราเอล ปาเลสไตน์และอิรัก ทำให้ต้องดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวังเพื่อคงความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เสถียรภาพความมั่นคงทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจอร์แดนจึงดำเนินนโยบายส่งเสริมแนวทางอิสลามสายกลาง เป็นมิตรกับทุกประเทศและเน้นหลักการไม่ใช้กำลังในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้ความสำคัญกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ จอร์แดนเป็นประเทศพันธมิตรหลักนอกสนธิสัญญานาโต้ (Major Non-NATO Ally - MNNA) ตั้งแต่ปี 2539

2 จอร์แดนให้ความสำคัญสูงสุดกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ สนับสนุนความพยายามของกลุ่มสี่ฝ่าย (สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รัสเซีย และสหประชาชาติ) ในการผลักดันแผนสันติภาพ (Road Map) เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ในกรอบเวลาที่ชัดเจน และยืนยันตาม Arab Peace Initiative ที่เรียกร้องให้อิสราเอลคืนดินแดนที่ยึดครองให้แก่ปาเลสไตน์ ซีเรียและเลบานอนตามเขตอาณาก่อนปี 2510 สนับสนุนการตั้งปาเลสไตน์เป็นรัฐอิสระโดยมีกรุงเยรูซาเล็มตะวันออกเป็นเมืองหลวง เพื่อนำไปสู่การปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาหรับกับอิสราเอลให้เป็นปกติ จอร์แดนได้ลงนามความตกลงร่วมมือกับปาเลสไตน์เมื่อปี 2538 ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่รองรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรจอร์แดน ในขณะเดียวกัน ก็เป็นเพียงอาหรับประเทศเดียวนอกเหนือจากอียิปต์ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตและได้ลงนามในความตกลงสันติภาพกับอิสราเอลเมื่อปี 2537 
นอกจากนี้ จอร์แดนยังเป็นภาคีความตกลง Qualifying Industrial Zone (QIZ) ซึ่งเป็นความริเริ่มของสหรัฐฯ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง เขตอุตสาหกรรมตามความตกลงนี้ได้แก่นิคมอุตสาหกรรมในจอร์แดน (10 แห่ง) และในอิสราเอล ซึ่งสหรัฐฯ จะนำเข้าสินค้าที่ผลิตในนิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยไม่เก็บภาษีศุลกากรและไม่จำกัดปริมาณการนำเข้า แต่ทั้งนี้ สินค้านั้นจะต้องมีมูลค่าเพิ่มในอิสราเอลและจอร์แดนรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 และมูลค่าเพิ่มในอิสราเอลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ความตกลงนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของจอร์แดน เนื่องจากสหรัฐฯ เก็บภาษีจากสินค้านี้ในระดับสูง
3 จอร์แดนสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในอิรักและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอิรัก โดยไม่แทรกแซงกิจการภายในของอิรัก และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ การสนับสนุนอิรัก 
4 จอร์แดนประณามการก่อการร้ายทุกรูปแบบและเห็นว่า การใช้กำลังทหารไม่เพียงพอที่จะจัดการปัญหาการก่อการร้ายระหว่างประเทศ แต่ต้องพิจารณาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย จอร์แดนปฏิเสธความพยายามที่จะเชื่อมโยงการก่อการร้ายกับศาสนา ดังที่สะท้อนไว้ใน Amman Message เมื่อปี 2547 ที่สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 และผู้นำศาสนามุสลิมที่สำคัญจัดทำขึ้นเพื่อการกำหนดแนวทางและการชี้แนะหลักคำสอนที่แท้จริงของศาสนาอิสลามเพื่อป้องกันการบิดเบือนหลักคำสอน นอกจากนี้ จอร์แดนรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายแล้วทั้งสิ้น 7 ฉบับ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน

ด้านสังคมและวัฒนธรรม 
1. ด้านวิชาการ ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือด้านวิชาการและการศึกษาระหว่างกัน ฝ่ายไทยได้ให้ทุนฝึกอบรมนานาชาติผ่านสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศเป็นประจำทุกปี 
สาขาที่จอร์แดนสนใจและเข้ารับการอบรม อาทิ การจัดการด้านชลประทาน การบริหาร ธุรกิจส่งออก การพยาบาล การควบคุมโรคติดต่อ และการเกษตร เป็นต้น ส่วนรัฐบาลจอร์แดนมอบทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีสำหรับนักศึกษาไทยปีละ 5 ทุน เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปีการศึกษา 2550-2551โดยมอบทุนแก่นักศึกษาไทยไปศึกษาในสาขา Religious Fundamentals, Figh (ศาสนบัญญัติ) and Jurisprudence และ Arabic Language and Literature 
2. ด้านวัฒนธรรม ทั้งสองฝ่ายลงนามความตกลงด้านวัฒนธรรมเมื่อปี 2549 และทั้งสองฝ่ายหาแนวทางเพื่อเพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง คณะนาฏศิลป์จอร์แดนได้เดินทางมาแสดงที่ประเทศไทยเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 และไทยได้จัดงานสัปดาห์วัฒนธรรมไทยในจอร์แดน ระหว่างวันที่ 16-22 สิงหาคม 2551 ล่าสุด กระทรวงวัฒนธรรมของจอร์แดนจะส่งคณะนักแสดงมาแสดงที่ประเทศไทยระหว่างวันที่ 15-18 มิถุนายน 2553

ความตกลงที่สำคัญ
1 . ความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Framework Agreement on Economic and Technical Cooperation) ลงนามเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 ระหว่างการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 
2. บันทึกความเข้าใจด้านการบิน ลงนามเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2548 เพื่อปรับปรุงสิทธิการบินระหว่างกัน ปัจจุบัน สายการบิน Royal Jordanian ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติจอร์แดน มีเที่ยวบินกรุงเทพฯ - อัมมาน สัปดาห์ละ 6 เที่ยว
3.ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 
4.ความตกลงด้านวัฒนธรรม ลงนามเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2549

สมาคมมิตรภาพจอร์แดน-ไทย 
1. เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 สมาคมมิตรภาพจอร์แดน-ไทย (Jordanian-Thai Friendship Association) ได้จัดประชุมใหญ่สมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคม และได้คัดเลือกประธาน (นาย Emad Shakhatreh) และกรรมการบริหารสมาคมฯ และได้เชิญนาย Abdel Raouf Al- Rawabdeh อดีตนายกรัฐมนตรีจอร์แดนเป็นประธานกิตติมศักดิ์ 
2. สมาคมฯ จะนำนักธุรกิจและสมาชิกของสมาคมฯ จำนวน 200 คน มาจัดงานนิทรรศการ Jordan Week in Thailand ระหว่างวันที่ 1-7 มีนาคม 2553 ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างจอร์แดนและไทย และแนะนำสินค้าและศิลปวัฒนธรรมจอร์แดน และประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวแก่ชาวไทย และ Jordan Investment Board (JIB) จะเข้าร่วมงานนิทรรศการดังกล่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนในจอร์แดนด้วย โดยสาขาที่จอร์แดนสนใจ ได้แก่ เกษตร อุตสาหกรรม สุขภาพ การขนส่ง เครื่องจักรอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์ พลังงานทางเลือก พลาสติก สิ่งทอ โทรคมนาคม เหมืองแร่ เคมีภัณฑ์ อาหาร โลหะ การท่องเที่ยวและโรงแรม การเงินการธนาคาร เวชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง ทั้งนี้ จอร์แดนพยายามชี้จุดแข็งของการเป็นประตู (gateway) สู่ภูมิภาค โดยเฉพาะ อิรัก

ความร่วมมือทางวิชาการด้านฝนหลวง
กระทรวงน้ำและชลประทาน (Ministry of Water and Irrigation) ของจอร์แดนขอส่งเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค มาศึกษาดูงานการทำฝนหลวงของไทย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับภาวะขาดแคลนฝนในจอร์แดน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรม
ราชานุญาตแล้ว (ตุลาคม 2552)

การเยือนที่สำคัญ

3.1 ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
- ปี 2542 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ เยือนจอร์แดนเป็นการส่วนพระองค์
- วันที่ 17 – 22 เมษายน 2549 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนจอร์แดนในฐานะพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดน และสมเด็จพระราชินีราเนีย อัล อับดุลเลาะห์
รัฐบาล 
- วันที่ 12-13 มกราคม 2527 ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนจอร์แดน เพื่อขอบคุณรัฐบาลจอร์แดนที่ช่วยเหลืออพยพแรงงานไทยเกือบ 5,000 คน ในสงครามอิรัก-อิหร่านเข้ามาพักในจอร์แดน 
- วันที่ 1-5 เมษายน 2548 พลอากาศเอกอนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะจากกองบัญชาการทหารสูงสุดเดินทางไปเยือนจอร์แดนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกองทัพจอร์แดน ตามคำเชิญของพลเอก Khalid J. Al-Sarayreh ประธานเสนาธิการทหารของจอร์แดน
- วันที่ 25-26 เมษายน 2548 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนจอร์แดนอย่างเป็นทางการ และเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 และหารือกับนาย Adnan Badran นายกรัฐมนตรีจอร์แดน 
- วันที่ 18-20 พฤษภาคม 2548 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม Petra Conference of Noble Laureates ณ เมือง Petra และเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม World Economic Forum on the Middle East ที่ทะเลสาบ Dead Sea เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 และพบหารือกับนาย Adnan Badran นายกรัฐมนตรีจอร์แดน
- วันที่ 4-6 กรกฎาคม 2548 นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นำคณะผู้แทนไทยมุสลิมไปเข้าร่วมการประชุม International Islamic Conference on True Islam and Its Role in Modern Society ตามคำเชิญของราชสำนักจอร์แดน
- วันที่ 19-22 มิถุนายน 2549 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม Conference of Nobel Laureates Petra II 
- วันที่ 7-10 กรกฎาคม 2549 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทยเดินทางเยือนจอร์แดน และหารือกับนาย Sharif Zubi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมจอร์แดน
- วันที่ 17-18 กันยายน 2552 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเป็นประธานการประชุมเอกอัครราชทูตประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ณ กรุงอัมมาน และหารือกับนาย Nasser Judeh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจอร์แดน

3.2 ฝ่ายจอร์แดน
พระราชวงศ์

- วันที่ 25-27 กันยายน 2526 สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซน และสมเด็จพระราชินีเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ 
- วันที่ 31 กรกฎาคม-2 สิงหาคม 2547 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 เสด็จฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ และเสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 สิงหาคม 2547
- วันที่ 15 ธันวาคม 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2
- วันที่ 12 - 13 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 
เสด็จฯ ร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
รัฐบาล 
- วันที่ 10-13 กันยายน 2547 พล.ท. Khalid J. Al-Sarayreh ประธานคณะเสนาธิการ ทหารเดินทางเยือนไทย
- วันที่ 6-11 พฤศจิกายน 2547 ดร. Amal El-Farhan กระทรวง Municipal Affairs เดินทางมาร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียงในไทย 
- วันที่ 2-5 ตุลาคม 2548 นาย Akel Biltaji ที่ปรึกษาสมเด็จพระราชาธิบดี อับดุลเลาะห์ที่ 2 เดินทางมาเข้าร่วมประชุม Global Summit, Peace Through Tourism ครั้งที่ 3 ณ เมืองพัทยา
- วันที่ 4 ธันวาคม 2549 ดร. Adel Tweisi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจอร์แดนเข้าพบหารือกับคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ผู้แทนทางการทูต

ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอัมมาน นายอิสินธร สอนไว
Royal Thai Embassy
No. 33 Al-Hashemeen St.,
Dirghabar-Abdoun,
P.O. Box 144329,
Amman 11814 JORDAN
Tel. (9626) 592-3300 ,592-1964
Fax. (9626) 592-3311
E-mail : 
thaibgw@mfa.go.th
Website : 
http://www.thaiembassy.org/amman
Office Hours : Sunday - Thursday 09.00 - 16.30 hrs.
Visa and Consular section : 09.30-12.30 and 14.00-16.00 hrs.

ฝ่ายจอร์แดน 
เอกอัครราชทูตจอร์แดนประจำอินเดีย H.E. Mr. Mohamed Ali M. Daher Nsour
Embassy of the Hashemite Kingdom of Jordan
30 Golf Links,
New Delhi 110003 INDIA
Tel. (9111) 2465-3318, 2564-3099
Fax. (9111) 2465-3353
E-mail : 
http://www.jordanembassyindia.org 
Office Hours : Monday - Friday 9.00-16.00 hrs.

กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จอร์แดนประจำประเทศไทย นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี 
Consulate of the Hashemite Kingdom of Jordan 
47 Soi Ekamai, Sukhumvit 63
Sukhumvit Road, Bangkok 10110 
Tel. 0-2391-7142
Fax. 0-2381-1314
Office Hours : Monday - Friday 9.00 - 14.00 hrs.

******************

มกราคม 2553
เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5000 ต่อ 2058 E-mail : 
southasian03@mfa.go.th 

ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์ ให้บริการ แลนด์จอร์แดน จัดทัวร์จอร์แดน แพคเกจทัวร์จอร์แดน คณะทัวร์จอร์แดน ข้อมูลท่องเที่ยวจอร์แดน

 

   ตั๋วเครื่องบินสู่ประเทศจอร์แดน จองโรงแรมที่พักจอร์แดน จัดประชุมสัมนาที่ประเทศจอร์แดน  งานแสดงสินค้าที่ประเทศจอร์แดน รถทัวร์จอร์แดน  วีซ่าจอร์แดน  ศึกษาต่อจอร์แดน  

 

 

รับจัดทัวร์จอร์แดนกรุ๊ปพิเศษสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปสัมผัสประเทศจอร์แดน ด้วยตนเองกับรายการทัวร์จอร์แดน 
ติดต่อ 
ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์    แลนด์จอร์แดนในประเทศไทย
โทร. 02-4282114
Email:  
u.travel@hotmail.com

 

ดูโปรแกรมทัวร์ คลิก

 

 จองทัวร์ กรุณาใส่รายละเอียดข้างล่างนี้